วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำเป็น คำตาย



                คำเป็น  คำตาย  เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน  ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คา  เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น  พื้นเสียง*  เป็นเสียงสามัญ

ส่วน  คะ  เป็นอักษรต่ำคำตาย  เสียงสั้น  พื้นเสียงเป็นเสียงตรี

                คำเป็น  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่  ก  กา  เช่น  มา  ดู  ปู  เวลา  ปี  ฯลฯ

๒.  คำที่พยัญชนะประสมกับสระ  ำ    ใ -  ไ -  เ า  เช่น  จำ  น้ำ  ใช่  เผ่า  เสา  ไป  ฯลฯ

๓.  คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น  จริง  กิน  กรรม  สาว  ฉุย  ฯลฯ

                คำตาย  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่  ก  กา  เช่น  กะทิ  เพราะ  ดุ  แคะ  ฯลฯ

๒.  คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กบ  กด  เช่น  บทบาท  ลาภ  เมฆ  เลข  ธูป  ฯลฯ

 สรุป

                วิธีพิจารณา

                                ๑)    ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก  ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัวสะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว  ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่  ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด

                                ๒)  ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น  กบด  หรือไม่  ( แม่  กก  กบ  กด )  ถ้าใช่  คำนั้นจะเป็นคำตาย  ถ้าไม่ใช่  กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น

                                ๓)  ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด  ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น  หรือเสียงยาว  ถ้าอายุสั้น

( เสียงสั้น )  ต้องตาย  ถ้าอายุยาว  ( เสียงยาว )  จึงเป็น

กลวิธีในการจำคำเป็น  คำตาย

คำตาย

คำเป็น

พวกที่เป็น  กบด  ต้องตายก่อน  (สะกดด้วยแม่  กก  กบ  กด)

อายุสั้นต้องตายตาม  (ประสมด้วยสระเสียงสั้น)

สะกดด้วยแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว

อายุยาวเป็น  (ประสมด้วยสระเสียงยาว)

                      ให้จำในส่วนของคำตายให้ได้เพราะจำง่าย  คือ  กบด  ต้องตายก่อน  และอายุสั้นต้องตายตาม  กล่าวคือ  สะกดด้วยแม่

กก  กบ  กด  (กรณีมีตัวสะกด)  และประสมด้วยสระเสียงสั้น  (กรณีไม่มีตัวสะกด)  เป็นคำตาย  นอกเหนือจากนี้เป็นคำเป็นทั้งหมด


                ***  ดังนั้นสรุปได้ว่า  คำที่ประสมด้วยสระ  ำ    ใ -  ไ -  เ า  เป็นคำเป็น  เพราะนับว่ามีตัวสะกด ในมาตรา แม่กม  แม่เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ

คำพ้อง

คำพ้อง หมายถึง คำที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือซ้ำกัน คำพ้องเเบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้ 
๑. คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้อง ต้องดูข้อความอื่นๆ ประกอบว่าคำพ้องรุปนั้นหมายถึงอะไร อ่านอย่างไร แล้วจึงอ่านให้ถูกต้อง 
ตัวอย่างคำพ้องรูป 
- ปักเป้า 
ปัก-กะ-เป้า หมายถึง ชื่อปลาชนิดหนึ่ง 
ปัก-เป้า หมายถึง ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง 
- สมาธิ 
สะ-มา-ทิ หมายถึง การสำรวมใจเเน่วเเน่ 
สะ-หมาด หมายถึง ทานั่งขัดสมาธิ 
- สระ 
สะ หมายถึง แอ่งน้ำขนาดใหญ๋ 
สะ-หระ หมายถึง อักษรเเทนเสียงสระ 
๒. คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนไม่เหมือนกัน แต่ออกเสียงเหมือนกัน และมีความหมายต่างกัน 
ตัวอย่างคำพ้องเสียง 
- กรรณ (หู), กัณฐ์ (คอ), กันต์ (ตัด,โกน) = กัน
- ข้า (คนรับใช้), ค่า (คุณประโยชน์), ฆ่า (ทำให้ตาย) = ข้า
- ควาน (เอามือค้นหาของ), ควาญ (ผู้เลี้ยงเเละขับขี่ช้าง) = ควาน 
- ศรี (สิริมงคล), สี (สิ่งที่ทำให้เป็นสีต่างๆ) = สี 
๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง หรือ คำหลายความหมาย คือ คำที่เขียนเหมือนกันอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายหลายอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง คำอ่าน ความหมาย 
ตัวอย่างคำพ้องทั้งรูปและเสียง
-แกะ แกะ 
๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้าประเภทหนึ่ง 
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แคะให้หลุดออก 
- ฟัน ฟัน 
๑. เอาของมีคม เช่น ดาบฟาดลงไป 
๒. กระดูกเป็นซี่ๆ อยู่ในปากสำหรับกัด ฉีก หรือเคี้ยวอาหาร 
- ขัน ขัน
๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่ หรือนกบางชนิด

มาตราตัวสะกด แม่กด

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด
คือ คำที่มีตัว จ ช ชร ซ ด ต ตร ติ รถ รท ฎ ฏ ฐ ฒ ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด
และอ่านออกเสียง ด สะกด เช่น
จ ตรวจตรา สุจริต ระเห็จ พินิจ มัจฉา เกียจคร้าน ดุจ สมเด็จ กิจการ พูดเท็จ สำเร็จ เสร็จ
ช ราชาธิราช พระราชทาน ราชวัง บวช ประโยชน์ พาณิชน์ พระราชดำรัส ราชธานี
ชร เพชร แหวนเพชร
ซ ก๊าซ
ด มด วาด จังหวัด กัด โดด หงุดหงิด ปลดปลง ชนิด ทองหยอด ฉูดฉาด
ต จิตใจ อุตสาหกรรม สุภาษิต พันธุรัต สัตยา ชีวิต สังเกต เมตตา ประณีต อุตสาหะ จารีต
ตร ยุรยาตร เมตร วิจิตร พระเนตร บุตร มิตร บัตร บาตร ลิตร ฉัตร เกษตร
ติ ชาติ ธรรมขาติ ปฏิบัติ สมบัติ เกียรติยศ อัตโนมัติ ธงชาติ ประวัติ รสชาติ นิวัติ
ตุ เหตุ ธาตุ สาเหตุ เหตุผล
รถ สามารถ ปรารถนา
รท วันสารท สารท
ฎ กฎ กฎหมาย กฎเกณฑ์ มงกุฎ
ฏ ปรากฏ รกชัฏ
ฐ อิฐ อูฐ ประเสริฐ
ฒ วัฒนา วัฒนธรรม พัฒนา
ถ รถ รถไฟ
ท ประเภท วิทยุ วิทยาศาสตร์ ประสิทธิภาพ บทบาท ปราสาท บาท มรรยาท พัทลุง บริษัท
ธ พิโรธ อัธยาศัย โกรธ อยุธยา
ศ อากาศ เพ่งพิศ ทัศนศิลป์ ทิศ มหัศจรรย์ ประกาศ บรรยากาศ เพศ ปราศจาก ประเทศ
ษ โทษ พิษไข้ วิเศษ อังกฤษ เศษ อธิษฐาน ตรุษ พิเศษ ประดิษฐาน เศรษฐกิจ
ส โอกาส รหัส สวาท มธุรส วาสนา รสเปรี้ยว ตรัส โอรส ออสเตรเลีย


                                                          ดูวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่











มาตราตัวสะกด แม่กน

            พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน
คือ คำที่มีตัว น ญ ณ ร รุ ล ฬ เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง น สะกด เช่น
น จินดา ชันษา ชุลมุน ดูหมิ่น ต้นหว้า โต๊ะจีน พระชนนี
ญ กาญจนบุรี เชี่ยวชาญ เชิญ เจริญ ปัญหา บัญชี อารัญ ห้าวหาญ เทวัญ
ณ ทารุณ คุณภาพ โบราณ บริเวณ คำนวณ บัณฑิต ขอบคุณ คุณนาย ประมาณ
ร จราจร อาจารย์ ประยูร อาคาร ต้องการ ธนาคาร บริการ อนาทร ทินกร เมืองมาร
ล จลาจล ชลบุรี เครื่งจักรกล ทูลสุกร ชลเนตร มูลช้าง กราบทูล สากล

ฬ ทมิฬ กาฬโรค พระกาฬ

                                                   ดูวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่

                                              

มาตราตัวสะกดแม่กบ


พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ
มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว บ ป พ ภ เป็นตัวสะกด
อ่านออกเสียง บ สะกด เช่น
บ ลูบ ฟุบ รบ ลอบ เล็บ สลบ ฉับไว ประดับ ขยับ ซุบซิบ
อาบน้ำ ไหวพริบ โต้ตอบ เหน็บชา
ป สรุป ทวีป ทำบาป สาปแช่ง ธูปเทียน รูปภาพ สัปดาห์ รูปหล่อ ประชาธิปไตย อัปลักษณ์
พ ภาพยนต์ ลพบุรี งานศพ มหรสพ เคารพ สภาพ พิภพ กรุงเทพฯ อพยพ
นพรัตน์ นิพพาน สรรพ อานุภาพ โพสพ แม่นพดารา เจ้าภาพ

ภ พฤษภ มีลาภ โลภมาก

                                                               
                                                             ดูวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่